เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 11.00 น. ที่ศาลากลาง
จ.แพร่ ณ.ห้องประชุมจดหมายเหตุ ชั้น 2 นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
เป็นประธานการเปิดประชุมแก้ไขปัญหาการบริหารกองทุนสวัสดิการ อ.สูงเม่น จ.แพร่
เรื่องเดิมมีอยู่ว่า คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน อ.สูงเม่น จ.แพร่
ได้ก่อตั้งขึ้นมาตามนโยบายของรัฐบาลในปี 2545 ที่ทางรัฐสนับสนุนเงินมาหมู่บ้านละ
1,000,000 บาท
การบริหารจัดการไม่มีปัญหาแต่ประการใดในพื้นที่ อ.สูงเม่น จ.แพร่
มีคณะกรรมการเครือข่ายได้จัดตั้งกองทุนสวัสดิการขึ้นมาโดยอาศัยกฎข้อระเบียบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
(กทบ.) ขึ้นมาในปี 2555 มีการร่างกฎระเบียบขึ้นมาโดยไม่มีกฎหมายรองรับและแอบแฝงกลไกลในหน่วยงานของรัฐเป็นตัวนำร่อง
เชิญชวนสมาชิกที่เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านจนถึงระดับตำบลและเข้ามาสู่ระดับอำเภอเข้าโดยข้ออ้างที่ทางสมาชิกไม่สามารถสอบถามได้ทุกคนต่างคิดว่าเป็นการสั่งการของภาครัฐเป็นผู้สั่งการ
ได้ร่างระเบียบบังคับว่าใครจะมากู้เงินกองทุนหมู่บ้านในเครือข่ายจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการ
ถ้าไม่ยินยอมจะไม่สามารถกู้เงินกองทุนหมู่บ้านได้ จึงเป็นสิ่งที่สมาชิกทุกคนทราบและปฎิบัติกันมาจนมีสมาชิกร่วม
20,200 คน
ในปัจจุบันนี้ ในการบริหารจัดการทำกันเพียงกรรมการฝ่ายบริหาร 7 คน ประกอบด้วย ดต.บุญเลิศ ธุระทำ
ประธานฯ นายประสงค์ ขยัก รองประธานฯ
นายสังคม อุ่นกาศ รองประธานฯ นายณรงค์ พอจิต เลขาฯ นางสมคิด แสงสนิท เหรัญญิกฯ
นายมานิต นันทะวิเชียร ฝ่ายทะเบียนฯ นายกิตติวัฒน์ เวียงนาค ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฯ
เป็นผู้บริหารจัดการมีคณะกรรมการเครือข่ายอีก 12 ตำบล
ที่เป็นผู้ประสานงานให้กับฝ่ายบริหารการเบิกจ่ายและได้รับการจัดเก็บ 10 เปอร์เซ็นต์ของการจัดเก็บและอนุมัติเงินต่างๆ มีเพียงฝ่ายบริหารเท่านั้นเป็นผู้อนุมัติและดำเนินการ
โดยเก็บเงินจากสมาชิกคนละ 150
บาทต่อคนต่อเดือน จนมีเงินหมุนเวียนกว่า 69 ล้านบาท นำไปซื้อสลากออมสิน สาขา
อ.เมือง 25
ล้านบาท ซื้อสลาก ธกส. 7 ล้าน
เมื่อมีสมาชิกเห็นการบริหารงานด้านการเงินแบบไม่โปร่งใสและไม่ชอบมาพากล
จึงร้องเรียนไปยังศูนย์ดำรงธรรม จ.แพร่ และมีการตรวจสอบเรียกฝ่ายบริหารฯ มาให้การ
จนนำไปแจ้งความดำเนินคดีกับฝ่ายบริหารทั้ง 7 คน จนทางฝ่ายอัยการจังหวัดแพร่
ส่งฟ้องศาล ศาลประทับฟ้องมีการตัดสินว่าจำเลยทั้ง 7 เมื่อวันที่ 17
กันยายน 61 มีความผิด
ตาม พ.ร.บ. ฌาปนกิจ สงเคราะห์ พ.ศ. 2545 หลายมาตรา สั่งจำคุกคนละ 1 ปี
ปรับคนละ 1 หมื่นบาท
แต่จำเลยทั้งหมดไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จึงลดโทษเหลือคนละ 6 เดือน
แต่รอลงอาญาไว้ 1 ปี
ปรับคนละ 5,000 บาท
จะต้องดำเนินการจดทะเบียน พ.ร.บ.ฯ ภายใน 90 วัน
แต่ทางฝ่ายบริหารก็ดำเนินงานเบิกจ่ายตามปรกติ เสมือนไม่มีความผิดแต่ประการใด
มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแล้วไปจดทะเบียน พ.ร.บ.ฯเมื่อวันที่ 6
ธันวาคม 2561 คณะกรรมการชุดที่ศาลลงโทษความผิดก็ยังบริหารจัดการเหมือนเดิม
จึงมีการร้องเรียนถึง นายพยุงศักดิ์ พลลุน นายอำเภอสูงเม่น จ.แพร่
จนนำพามาสู่การประชุมในวันนี้ โดยทางฝ่าย น.ส. บงกช สัจจานิตย์ หน.สนง.พมจ.แพร่
ดำเนินการ เชิญ นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง
ผอ.กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว จาก กรุงเทพฯ มาร่วมประชุมมาชี้ชัดของข้อกฎหมายเกี่ยวกับร่าง
พ.ร.บ.ฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545 พร้อมนายอำเภอสูงเม่น
และหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมประธานเครือข่ายแต่ละตำบลใน อ.สูงเม่น
รวมจนถึงฝ่ายบริหารชุดที่ถูกศาลสั่งลงโทษ มาร่วมประชุม ผลข้อสรุปในที่ประชุมที่
ผวจ.แพร่ ได้สั่งข้อยุติบทบาทของฝ่ายบริหารทั้งหมดการจัดเก็บในรอบต่อไปและแต่งตั้งนายอำเภอสูงเม่น
เป็นประธานตรวจสอบเงินในธนาคารและเม็ดเงินที่ยังคงมีเหลืออยู่ว่ามีจำนวนเท่าไหร่
และตรวจสอบว่าฝ่ายบริหารนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์จากกฎระเบียบที่ได้บังคับไว้หรือไม่
ภายในระยะเวลา 7 วัน ถ้ามีจะต้องนำเม็ดเงินที่สูญไปกับการใช้จ่ายไม่เป็นไปข้อบัญญัติฝ่ายบริหารจะต้องรับผิดชอบ (นำเงินมาคืน)
จนบัญชีมีความสมดุล คือมีรายรับรายจ่ายจะต้องมีที่มาที่ไปและเม็ดเงินสมาชิกจะต้องไม่สูญกับการนำเงินไปบริหารที่ไม่ถูกต้อง
และต่อจากนี้ไปกรรมการในหมู่บ้านไหนจัดเก็บเงินสมาชิกในนามกองทุนสวัสดิการ
อ.สูงเม่น คนละ 150
บาทนั้นถือว่าผิดกฎหมายจะถูกดำเนินคดีทันที ส่วนการจัดตั้งให้กรรมการที่จดขึ้นทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์
จะต้องดำเนินการภายในวันที่ 6 มีนาคมนี้ นับจากนี้ไปอีก 30
วันจัดการประชุมสามัญตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่บริหารภายใน สมาคมฌาปนกิจ สงเคราะห์
อ.สูงเม่น เท่านั้นจะไปใช้ชื่อว่าเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านไม่ได้เพราะกฎหมายคนละฉบับการบริหารคนละแบบ
ส่วนโลโก้ห้ามนำคำว่า กทบ. มาเป็นโลโก้ไม่ได้เพราะยังไม่ได้ขออนุญาตจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ก่อนจึงจะมีสิทธิ์ใช้โลโก้คำว่า กทบ.ส่วนสมาชิกกังวลเรื่องว่าในช่วงดำเนินการจัดการตั้งสมาคมฌาปนกิจฯ
นั้น ทางฝ่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดูแล
และเป็นผู้เบิกจ่ายแก่สมาชิกที่เสียชีวิตระหว่างดำเนินการจัดตั้งฯไปก่อน
จนกว่าจะเข้าสู่สภาวะการจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ อ.สูงเม่น เป็นที่เรียบร้อย
แต่ในที่ประชุมมีตำบลน้ำชำ
จะขอนำสมาชิกมาดำเนินงานจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจฯเองภายในตำบลน้ำชำ จะเป็นไปได้หรือไม่อยู่ที่ส่วนแบ่งเงินที่ทางฝ่ายบริหารยืนยันมาตลอดว่ามีเงินสดถึง
46
ล้านบาท ไม่รวมค่าสลากออมสินและสลาก ธกส. อีก 7 ล้านบาท ไม่นานเกินรอที่สมาชิกกว่า 2 หมื่นกว่าคนจะได้ข้อพิสูจน์ว่าเงินของสมาชิกอยู่ครบหรือไม่หรือมีแต่ใบกระดาษและตัวหนังสือกับคำพูดที่ไม่มีหลักฐานของฝ่ายบริหารที่บริหารกองทุนสวัสดิการ อ.สูงเม่น
มาถึง 7 ปี
กาลเวลาจะเป็นข้อพิสูจน์ที่บอกกับสมาชิกมาโดยตลอดว่าทำด้วยจิตอาสาหรือแปลเป็นอื่น
ในที่ประชุมฯผวจ.แพร่ ได้สั่งการให้ทาง สนง.พมจ.แพร่ ทำหนังสือถึงนายอำเภอทุกอำเภอ
ในจังหวัดแพร่ให้องค์กรไหนหรือหน่วยงานไหนดำเนินการลักษณะดังกล่าวจะต้องเข้าสู่ระบบ
ทุกกรณี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น