ชาว ต.น้ำชำมอบของขวัญ ผวจ.แพร่ - Phrae Business

Phrae Business

หนังสือพิมพ์ ธุรกิจแพร่

Breaking

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

ชาว ต.น้ำชำมอบของขวัญ ผวจ.แพร่


        เมื่อ วันที่ 18 กันยายน 2562 เวลา 11.00 น. ชาว ต.น้ำชำ อ.สูงเม่น จ.แพร่ โดยการนำของ นาย อำนวย ฝักฝ่าย กำนัน ต.น้ำชำ อ.สูงเม่น จ.แพร่ พร้อม นาย เจริญ ถือคำ ที่ปรึกษาชมรมกำนันและผู้ใหญ่ ต.น้ำชำ, นาย มานะ งอกไม้ ผญบ.ม.7, นายเสียงทิพย์ ช้างมูบ ผญบ.ม.6, นายประจวบ ทรัพย์มามูล ผญบ.ม.8, นายประพันธ์ กำทอง ผญบ.ม.14, นายบรรจบ จินดาขัด ผญบ.ม.10, นายชูเกียรติ ขีดดี ผญบ.ม.5, นายอดิศักดิ์ ท่วงที รองนายก อบต.น้ำชำ และ นายเจษฎา แก้วศล ผู้สื่อข่าว นสพ.ธุรกิจแพร่ และชมรมผู้สื่อข่าวจังหวัดแพร่ ได้เข้าพบ นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ที่ห้องทำงาน ศาลากลาง จ.แพร่ อันสืบเนื่องมาจาก นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้เดินมารับตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ในฐานะพ่อเมืองแพร่ ได้มอบ นโยบาย 3 ด้านหลัก คือ ด้านเศรษฐกิจ, ด้านสังคม และ ด้านสิ่งแวดล้อม นี้คือนโยบายหลักที่ได้รับ นโยบายมาจากรัฐบาล และ มอบนโยบายให้หน่วยงานในจังหวัดแพร่ รับไปปฏิบัติหน้าที่ และให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด.
        2 ปีที่ผ่านมาทุกหน่วยงานตอบสนองนโยบายหลักของผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ คนที่ 51 โดยเคร่งครัด จนนำพาประชาชนในจังหวัดแพร่ มีสุข และพึงพอใจ กับการที่พ่อเมืองมาร่วมสร้าง และพัฒนาให้เป็นรูปธรรมหลายๆด้าน เชื่อแน่ว่า คนจังหวัดแพร่คงจะได้เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างในช่วงที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ท่านมารับตำแหน่ง หนึ่งในนั้นคือ พี่น้องชาวอำเภอสูงเม่น ได้ตระหนักถึงความถูกต้อง และจริงใจกับการแก้ไขปัญหาที่ทางการยังไม่ทราบ และทางรัฐที่เป็นผู้ร่างกฎหมายยังต้องคาดไม่ถึง นั่นคือ กองทุนสวัสดิการ อ.สูงเม่นที่มีเม็ดเงินถึง 86 ล้านบาท ใช้ช่องว่างของกฎระเบียบบางข้อของกฎหมายกองทุนหมู่บ้านแห่งชาติ และสร้างผลประโยชน์ให้กับพวกพ้องไปแอบอิง กฎระเบียบกองทุนหมู่บ้านแห่งชาติแล้วมีการแสวงหาผลประโยชน์ที่สมาชิกคิดว่ารัฐสั่งการและรับผิดชอบ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ท่านได้นำประเด็นดังกล่าวมาหาแนวทางแก้ไขปัญหายืดเยื้อเป็นเวลา 1 ปี จึงเข้าสู่กระบวนการในด้านกฎหมาย จดทะเบียนเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ อ.สูงเม่น โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับเงินกองทุนหมู่บ้านแห่งชาติเลย นั้นถือว่าเป็นประโยชน์ต่อมวลสมาชิกใน อ.สูงเม่น จ.แพร่ และเป็นจุดเริ่มต้นในลักษณะเดียวกันทั่วประเทศ (เป็นต้นแบบ) แต่ขณะนี้ในจังหวัดแพร่ยังมีองค์กรแบบนี้และแอบแฝงกฏระเบียบรัฐ ยังคงบริหารงานกันอยู่แบบชาวบ้านไม่รู้กระบวนการบริหารจัดการ แต่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ฝากเรื่องดังกล่าวให้ ผู้ว่าราชการ จังหวัดแพร่คนใหม่สานต่อกับนโยบายจนครบทั้ง 8 อำเภอ 
       ด้านสังคม ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้มีนโยบายในด้านความเป็นอยู่โดยเฉพาะ ท่านเล็งเห็นความเปลี่ยนแปลงในอนาคต เกี่ยวกับคนไทยเราจะย่างก้าวเข้าสู่ผู้สูงวัย (สว.) มากขึ้น จึงมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ และบรรจุในแผนการพัฒนาจังหวัดต่อไป ด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้แก้ไขและส่งเสริมการปลูกต้นไม้ ให้ผืนป่าเขียวขจีคืนชีพขึ้นมา โดยใช้งบประมาณพัฒนาจังหวัด จากเป้าหมายการส่งเสริมการปลูกป่า 150,000 ต้น แต่เวลานี้ได้ทำการปลูกต้นไม้ไปแล้ว 180,000ต้น โดยสำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จ.แพร่เป็นผู้รับผิดชอบในโครงการ ที่ ชาว ต.น้ำชำ ได้มอบหมายให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาแสดงความขอบคุณต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ที่ท่านเป็นผู้ผลักดันนโยบายในการแก้ไขกฎหมายของกรมป่าไม้ ในการขออนุญาตการตั้งโรงงานแปรรูปไม้ จนสำเร็จ ทั้งๆที่การเรียกร้องจากรัฐมายาวนาน และที่สำคัญกับการแก้ไขปัญหาที่ดินซับซ้อนใน 3 ตำบล 2 อำเภอ คือ ต.น้ำชำ อ.สูงเม่น กับ ต.แม่จั๊วะ อ.เด่นชัย และ ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น กับ ต.แม่จั๊วะ อ.เด่นชัย ปัญหาเกิดขึ้นมา 18 ปี หลายรัฐบาลหลายผู้ว่าฯ  ท่านแก้ไขจนสำเร็จให้พื้นที่เข้าสู่กระบวนการด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และอีกมากมายหลายๆโครงการหลายๆเรื่องที่นำพาชาวจังหวัดแพร่ อยู่ดีมีสุข และหลายอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นตามลำดับและนโยบายท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ชาวจังหวัดแพร่เรียกร้องมานานคือการขยายศูนย์ราชการไปอยู่ที่โจ้โก้แม่หล่าย ต่อนี้เหลือเพียงเวลาเท่านั้นในกลางปี 2563 ต้องดำเนินงานตามแผนผังในการเริ่มการก่อสร้างศูนย์ราชการจังหวัดแพร่ ไม่เกิน 3 ปีชาวจังหวัดแพร่จะได้เห็นกับนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่คนที่ 51และศาลากลางหลังใหม่จะยืนตระหง่านบนเนื้อที่กว่า 500 ไร่เศษพร้อมหน่วยงานราชการที่สำคัญๆ ใน ต.น้ำชำ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่






หนานน้อย เวียงโกศัย : ข่าว
เอกชัย : เรียบเรียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Pages