เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2561 เวลา10.00-12.00 น. นาย โชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ พล.อ.
สกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมการพลังงาน
สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ (สนช.) ได้ร่วมประชุมที่ห้องชั้นที่ 2 ศาลากลางจังหวัดแพร่ พร้อมด้วย พล.อ.อ. อดิศักดิ์ กลั่นสนาม
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พล.อ.อ.เมธา สังข์วิจิตร
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พล.อ.อ. อภิศักดิ์ บุญเลื่อน นายสุชาติ ศิริบุรานนท์
น.ส.อัจฉรา กลิ่นสุคนธ์ นายคุณานันท์ ทยายุทธ คณะอนุกรรมาธิการด้านกิจการพิเศษ
พ.อ. สำเริง แก้วสุวรณ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ น.ส. ชลธิชา บุญเสถียร น.ส.ชนดา
โอวรารินท์ คณะทำงานคณะกรรมาธิการฯ พร้อม พ.อ. เชิดพงศ์ ช่วยบำรุง รอง
ผอ.กกล.รส.จว.แพร่ พ.อ.ชินทัศน์ หมวกละมัย รอง ผอ. กอ.รมน. จว.แพร่ ผอ.สกพ. เขต 2(พิษณุโลก) นายก อบต.ร่องฟอง อ.เมือง จ.แพร่ นายก
อบต.เหมืองหม้อ อ.เมือง จ.แพร่ นายชูเกรียติ กวางสนั่น
นักวิเคราะห์และแผนชำนาญการ(ศดธ.) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายบริษัท ที เอส
ที่เอนเนอร์ยี่ 1จก.ประกอบด้วยนาย เศรษฐวุฒิ
บุญสนิท นายถาวร วงศ์ล้อม นายปรีชาวิทย์ รอดรัตน์ นายภารกร คล้ายเพชร
และตัวแทนจากชาวบ้าน ทั้ง2ตำบล 4ท่าน ในที่ประชุมทางด้านประธานฯ
ได้ ซักถามความเป็นไปจากกรณีที่ น.ส.ขันทอง กาทองทุ่ง ผู้แทนประชาชนตำบลร่องฟอง อำเภอ
เมือง จังหวัดแพร่ ได้ยื่นเรื่อง ขอให้ยุติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ของบริษัท
พีเอสที เอนเนอร์ยี่ 1จำกัด คณะกรรมาธิการพิจารณาเห็นควรเดินทางไปศึกษาดูงานเพื่อรับฟังข้อมูลและข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรับฟังจากกลุ่มผู้คัดค้านการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ครั้งที่1
เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
ทางด้านประธานฯ ได้ให้ฝ่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซักถามกับตัวแทนบริษัทฯ
ตามที่ชาวบ้านกังวล โดยเฉพาะการได้มาซึ้งเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าตามสัญญารวม28.5เมกะวัตต์ ใช้เชื้อเพลิงวันละประมาณ
700 ตัน
เป็นเรื่องที่ทางฝ่ายคณะกรรมการฯวิตกเรื่องของเชื้อเพลิง ทางบริษัทฯชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายในการส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็ว
(ต้นกระถินยักษ์) ในรัศมี 100กิโลเมตรหรือใกล้เคียงจำนวน
60,000ไร่ และยังมีเศษไม้ มีซังข้าวโพด มีแกลบ และฟางข้าวหรือวัตถุดิบที่มีพลังงานเชื้อเพลิง
ทางบริษัทฯได้ชี้แจงเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่งของการถามข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อเพลิง
ทางด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ถามถึงเรื่องสถานที่จะดำเนินการก่อสร้าง
ระยะเวลาการก่อสร้างและจะกระทบกับมวลภาวะสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ทางผู้ชำนาญการของบริษัทฯได้ชี้แจงเกี่ยวกับการควบคุมมวลพิษเป็นอย่างดีด้วยเครื่องเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยจึงมั่นใจว่าการกระจายสิ่งมวลพิษจะไม่เป็นปัญหาในปัจจุบันและอนาคต
เช่นระบบเสียง
ระบบฝุ่นละอองและระบบนิเวศน์ ได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะทางบริษัทฯมีประสบการณ์ด้านการทำโรงไฟฟ้าชีวมวลมานานร่วม
10 กว่าปี ทุกพื้นที่ชาวบ้านอยู่กันแบบปรกติสุขและไม่มีปัญหากับการดำเนินงานของโครงการบริษัทฯ
เมื่อทางหน่วยงานที่ร่วมประชุมจึงนำข้อมูลที่ทางบริษัทชี้แจงเพื่อประกอบรายงานไปยังคณะรัฐมนตรีที่ดูแลในเรื่องดังกล่าวรับทราบ
แต่ทางฝ่ายประธานฯที่ประชุมเปิดโอกาสให้ตัวแทนกลุ่มผู้คัดค้านฯชี้แจงและซักถามกับตัวแทนบริษัทฯทางด้านประธานฯ
อนุญาตให้ตัวแทนชี้แจงทั้ง 4ท่าน
ต่างฝ่ายต่างก็มีข้อดีข้อเสียทั้งสองฝ่าย บทสรุปทางฝ่ายกลุ่มผู้คัดค้านขอพบ พล.อ.สกันธ์
สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ท่านประธานฯขอเวลาสรุปข้อประชุม
รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้ข้อสรุปว่าในเรื่องดังกล่าวทางจังหวัดแพร่ได้รับทราบข้อมูลที่ทางฝ่ายบริษัทฯให้ข้อมูลจากการสำรวจฯมาระดับหนึ่งและได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยมาโดยตลอดได้สอบถามหน่วยงานที่รับผิดชอบก็รับการชี้แจงมาแล้วว่าทางบริษัทยังไม่ได้รับการอนุญาตในการก่อสร้าง
เพียงแต่มาสำรวจและมารับฟังความคิดเห็นจากผลกระทบของโครงการหรือไม่
และทางบริษัทฯก็มาทำตามขั้นตอนตามกฎหมายทุกขั้นตอน การดำเนินการของบริษัทยึดถือหลักด้านกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ผลข้อสรุปของคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงให้กับหน่วยงานที่ร่วมประชุมและตัวแทนฯ
ว่า
ณ.เวลานี้การดำเนินงานของฝ่ายประกอบการยังไม่ได้รับการอนุญาตจากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฉะนั้นการที่ทางบริษัทกำลังดำเนินการในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
เท่านั้นเมื่อการดำเนินการตามขั้นตอนแล้วจะต้องเสนอต่อคณะกรรมการที่ให้การอนุญาต
ผส.จึงจะทำการก่อสร้างได้ เมื่อข้อสรุปในเวลา 12.30 น.จึงลงมาจากห้องประชุมเพื่อที่จะไปพบผู้มาคัดค้านที่สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ
ร.9 (สวนสุขภาพ) ซึ่งมีกลุ่มคัดค้านประมาณ 300กว่าคน ทางผู้คัดค้านได้จัดเวทีให้กับคณะกรรมาธิการฯพร้อมรองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
เมื่อทางฝ่ายคณะกรรมาธิการฯได้พบและชี้แจงผ่านเครื่องขยายเสียงที่ผู้คัดค้านนำตั้งเตรียมไว้ทางฝ่ายคณะกรรมาธิการฯไม่ให้ทางฝ่ายผู้ประกอบการลงมาให้เหตุและผลกับผู้คัดค้านว่าอันสืบเนื่องมาจากไม่ใช่เป็นหน้าที่ของตัวแทนบริษัทฯ
ทางตัวแทนบริษัทฯมีหน้าที่มาชี้แจงให้กับคณะกรรมาธิการฯที่มาร่วมประชุมและมารับฟังความคิดเห็นทั้ง
2ฝ่าย เฉพาะในที่ประชุมเท่านั้น
เมื่อทางฝ่ายคณะกรรมาธิการ
ให้เหตุและผลในการดำเนินการของบริษัทฯว่ากำลังอยู่ระหว่างในการขอรับฟังแสดงความคิดเห็นเท่านั้น
ทางฝ่ายกลุ่มผู้คัดค้านก็ไม่รับฟังและยืนข้อเสนอให้ยุติการก่อสร้างอย่างเดียว
รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ก็ได้ให้ข้อคิดและการอยู่ร่วมกันแบบสันติและมีเหตุผล
การดำเนินงานที่ทางบริษัทผู้ประกอบการยังไม่ได้รับการอนุญาต จากทางรัฐบาล จึงเป็นไปได้ว่ากลุ่มผู้คัดค้านมองกันคนละมุมกับทางหน่วยงานรัฐ
ที่มีนโยบายในการส่งเสริมพลังงานไฟฟ้าหลายๆมิติและราคาไฟฟ้าในอนาคตจะถูกลงเพราะมีพลังงานไฟฟ้าที่มีทางเลือก
ข้อสรุปฝ่ายคัดค้านจะให้ทางคณะกรรมาธิการและบริษัทฯลงบันทึกสัตตบรรณ
ของการให้ยุติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ทำให้คณะกรรมาธิการฯอึดอัดลำบากใจว่า
ทางบริษัทฯยังไม่มีการได้รับอนุญาตในการก่อสร้างเลย
จะมีข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการ ไม่ใช่เรื่องที่จะถึงจุดนี้ จนเลยเวลา 13.45
น.ทางฝ่ายคณะกรรมาธิการเห็นว่าล่วงเลยเวลาตามกำหนดจึงได้บอกให้กลุ่มผู้คัดค้านฯว่าขอยุติพบและชี้แจงไว้เพียงเท่านี้
แต่ทางฝ่ายผู้คัดค้านไม่พอใจกับการที่คณะกรรมาธิการมาหาข้อมูลรับฟังทั้ง 2ฝ่าย จึงคิดว่าทางการไม่จริงจังในเรื่องดังกล่าว
และเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561 เวลา 10.00น.แกนนำชาวบ้านที่คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล
พร้อมแกนนำชาวบ้าน 11คนเดินทางมายังศาลากลางจังหวัดแพร่
เพื่อขอบันทึกการประชุมระหว่างคณะกรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2561 ที่ห้องประชุมศาลากลาง จังหวัดแพร่ ชั้นที่ 2 ทางด้าน นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้ชี้แจงกับแกนนำว่าการประชุมที่ผ่านมาเป็นเรื่องของ
คณะกรรมาธิการ ด้านพลังงาน จากสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ จังหวดแพร่
มีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการประชุมเท่านั้น
และทางจังหวัดแพร่จะรับหนังสือเรื่องที่แกนนำ
ขอบันทึกการประชุมฯและจะเร่งประสานให้โดยเร็ว ในความคิดเห็นของสื่อหลายสำนักได้เสนอข่าวที่บางอย่างก็ไม่ถูกประเด็น
ฝ่ายกลุ่มผู้คัดค้านก็ไม่ฟังเหตุและผล การที่จะทำให้บ้านเมืองเจริญนั้น
ทุกฝ่ายจะต้องมีการพูดคุย มีความจริงใจต่อสังคมจะเอาสังคมมายุ่งเกี่ยวข้องกับหน้าทีการงานไม่ได้
อย่าเอาผลประโยชน์เป็นที่ตั้งก็จะทำให้ สังคมวุ้นวาย
ฉะนั้นทุกฝ่ายจะต้องมีเหตุและผล จึงจะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันสงบสุข บทข้อสรุป
เรื่องดังกล่าว ทาง คณะกรรมาธิการ ฯและรองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
จึงมีข้อคิดเห็นที่คล้ายกันคือ ให้ทั้ง 2 ฝ่าย
มาปรึกษาเจรจาและนำข้อดีข้อเสียมาหักล้างกันว่าสิ่งไหนจะเสียน้อยที่สุด
นั้นคือประเด็นที่ทางรัฐต้องการและเมื่อทางบริษัทฯได้เดินทางตามกฎระเบียบและกฎหมายนั้นย่อมเป็นข้อพิสูจน์
ของการดำเนินการถูกวิธี ส่วนทางฝ่ายกลุ่มคัดค้านก็จะต้องมีข้อเสนอที่หน้าเชื่อถือและเอาสิ่งที่ถูกต้องมาเป็นตัวกำหนด
ถ้าทั้ง 2ฝ่ายมีข้อเสนอ
ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบก็จะเป็นตัวเชื่อมและประสานความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ แต่
ณ.เวลานี้ทุกอย่างยังไม่คืบหน้าและดำเนินการต่อไปไม่ได้
เพราะกลุ่มผู้คัดค้านยังไม่ยอมรับฟังข้อคิดเห็นจากบริษัทฯ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องค้นหาความจริงว่าทุกฝ่ายจะมาเจรจากันกับความเป็นไปได้
ในความเจริญของระบบไฟฟ้าที่คนในพื้นที่มีส่วนรวมและมีจิตใจที่ดีงาม สมกับคำขวัญเมืองแพร่ที่ว่า
เมืองแพร่นี้น้ำใจงาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น