บทสรุปของกองทุนสวัสดิการ อ.สูงเม่น จ.แพร่ - Phrae Business

Phrae Business

หนังสือพิมพ์ ธุรกิจแพร่

Breaking

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทสรุปของกองทุนสวัสดิการ อ.สูงเม่น จ.แพร่


              จากกรณี ที่มีคณะกรรมการ กองทุนสวัสดิการ อ.สูงเม่น จ.แพร่ ได้จัดการก่อตั้งกองทุนสวัสดิการ อ.สูงเม่น จ.แพร่ เมื่อ ปี 2555 จนถึง ปี 2561 มีเงินหมุนเวียนประมาณ 69 ล้านบาท จากการเก็บเงินของสมาชิกจำนวน 20,200 คน รายละ 150 บาทต่อคนต่อเดือน ผู้บริหารจัดตั้งประกอบด้วย ดต.บุญเลิศ ธุระทำ ประธานฯ นายประสงค์ ขยัก รองประธานฯ นายสังคม อุ่นกาศ รองประธานฯ นายชาญณรงค์ พอจิต เลขาฯ นางสมคิด แสงสนิท เหรัญญิกฯ นายมานิต นันทะวิเชียร ฝ่ายทะเบียน และ นายกิตติวัฒน์  เวียงนาค ประชาสัมพันธ์ ได้เลือกจากคณะกรรมการเครือข่ายแต่ละตำบลมาเป็นฝ่ายบริหารกองทุนสวัสดิการฯที่แอบอิงกฎระเบียบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้สมาชิกฯเข้าใจผิดคิดว่ารัฐเป็นผู้สั่งการและเป็นกฎของกองทุนหมู่บ้านฯจึงไม่มีผู้ทักท้วงประกอบกับมีการร่างกฎระเบียบที่ฝ่ายบริหารร่างขึ้นมาโดยไม่มีกฎหมายรองรับว่าสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯจะกู้เงินจะต้องสมัครเข้ากองทุนสวัสดิการก่อนก่อนที่จะกู้เงินกองทุนหมู่บ้านได้ เสมือนบังคับแต่อ้างอิงกฎระเบียบกองทุนหมู่บ้านฯ จากรายรับมหาศาลที่ฝ่ายบริหารนำเงินไปใช้จ่ายไม่ทิศทาง มีการตั้งเงินเดือนให้กับประธาน เดือนละ 12,000 บาท ตั้งเงินเดือนให้กับรองประธานฯและได้ว่าจ้างเจ้าหน้าที่มาทำงานด้านเอกสารเดือนละ 15,000 บาท และ 12,000 บาท จำนวน 3 คน และนำเงินไปทัศนศึกษาปีหนึ่งประมาณ 3 หรือ 4 แสนบาท มีการเปิดรับสมัครสมาชิกใหม่ทุกปีและเก็บค่าแรกเข้าพร้อมจะต้องเสียค่าเอกสารอีกคนละ 30 บาท ทุกปี เป็นข้อสงสัยของสมาชิกฯ คณะกรรมการที่ไม่เห็นด้วยพยายามท้วงติง แต่ฝ่ายบริหารอาศัยเสียงข้างมากผ่านวาระประชุมทุกครั้งทุกปี จนนำร้องเรียนมายัง นสพ. ธุรกิจ แพร่ และศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดแพร่ให้ตรวจสอบของการบริหารเม็ดเงินมหาศาล 69 ล้านบาท ทางด้าน นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้สั่งการตรวจสอบและตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง พร้อมประชุมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและให้ทางฝ่ายบริหารกองทุนสวัสดิการฯเข้ามาชี้แจง และเชิญ นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง ผอ.กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว จาก กรุงเทพ เป็นผู้ร่างกฎระเบียบ พ.ร.บ.ฌาปนกิจ สงเคราะห์ พ.ศ. 2545 ที่ได้ร่วมกับ นายนที ขลิบทอง ผอ.ฝ่ายกฎหมายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่นำมาเป็นกฎระเบียบของกองทุนหมู่บ้านฯ นายรัตนะ เครือรัตน์ อัยการ จังหวัดแพร่(ป.) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว มีความเห็นว่าผิด พ.ร.บ. ฌาปนกิจ สงเคราะห์ ฯ แต่ฝ่ายบริหารกองทุนสวัสดิการ อ.สูงเม่น จ.แพร่ พยายามที่จะไม่เข้าสู่ระบบ พ.ร.บ.ฯตามกฎหมายนายทะเบียนที่รับผิดชอบ คือ นายชณภพ ไกรศักดิ์ นายกเทศมนตรี ต.สูงเม่น จ.แพร่ นายทะเบียนโดยตำแหน่ง จึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ กับ พ.ต.ท. ภาษิต อินทรรุจิกุล พนง.สส.สภ.สูงเม่น จึงเรียกฝ่ายบริหารกองทุนฯ ทั้ง 7 คนมารับทราบข้อกล่าวหาส่งให้อัยการจังหวัดแพร่พิจารณาการส่งฟ้อง จนอัยการ จังหวัดแพร่สั่งฟ้อง ต่อศาลจังหวัดแพร่ และศาลจังหวัดแพร่ มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2561 ให้จำเลยทั้ง 7 คน มีความผิดตาม พ.ร.บ. ฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ จำคุกคนละ 1 ปี ปรับคนละ 10,000 บาท แต่ศาลท่านเมตตาเนื่องจากผู้ต้องหาทั้งหมดไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนจึงลดโทษจำคุก คนละ 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญาไว้ 2 ปีแล้วให้เข้ามาสู่ระบบภายใน 90 วัน ความเคลื่อนไหวฝ่ายบริหารที่ศาลท่านตัดสินว่าผิดก็พยายามที่จะไม่เข้าสู่ระบบมีการยืนหนังสือถึงรัฐมนตรีที่จังหวัดพะเยา (ในการประชุมสัญจรของรัฐบาล) แต่ไม่เป็นผล จนสมาชิกฯท้วงสิทธิ์ชอบธรรมด้วยกฎหมายเร่งตรวจสอบให้ผู้จัดตั้เข้ามาสู่ระบบการจดทะเบียนตามคำพิพากษา เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 ฝ่ายบริหารที่ได้ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เข้ายืนการขอจดทะเบียนกองทุนสวัสดิการฯ ณ.ที่ทำการ สำนักงานเทศบาลตำบลสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยมี นาย ชณภพ ไกรศักดิ์ นายกเทศมนตรี ตำบลสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นผู้ลงนาม ถือว่าการต่อสู้มวลสมาชิกกว่า 20,200 คนพยายามดิ้นรนให้เม็ดเงินกว่า 69 ล้านบาทของพวกเขาให้มั่นคงและมีกฎหมายรองรับและให้เป็นธรรมกับผลประโยชน์ที่แท้จริงตาม พ.ร.บ.ฌาปนกิจ สงเคราะห์ ฯไม่ใช่ตายแล้วได้ 95,000 บาท เมื่อเข้าสู่ระบบ พ.ร.บ.ฯสมาชิกเสียชีวิตตามกฎหมาย จะต้องได้ถึง 175,000 บาทนั้นคือเหตุผลของการเข้าสู่ระบบฯหลังจากเข้าสู่ระบบแล้วมีการประชุมวิสามัญ(ประชุมใหญ่) เพื่อคัดสรรกรรมการจากสมาชิกทั้งหมด 20,200 คน ผู้ที่จะดำเนินการและสั่งการคือ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่และ นาย พยุงศักดิ์ พลลุน นายอำเภอสูงเม่น ที่จะสั่งการและเข้าตรวจสอบการดำเนินการการบริหารงาน จากปี 2555 - 2561 ว่ามีการนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ตามที่ได้ร่างกฎระเบียบหรือไม่ นั้นเป็นข้อที่ฝ่ายรัฐจะต้องมีส่วนร่วมการตรวจสอบแน่นอน บทสรุปการของการดำเนินงานการบริหาร กองทุนสวัสดิการ อ.สูงเม่น จ.แพร่และต่อนี้ไปจะนำเม็ดเงินที่สมาชิกจ่ายไปจะต้องควบคุมโดยกลไกรของรัฐตาม พ.ร.บ. ฌาปนกิจฯจและจะเป็นบรรทัดฐานการตรวจสอบที่มีองค์กรบริหารจัดการลักษณะเช่นแบบนี้อีกหลายอำเภอและอีกหลายจังหวัด อาจจะทั่วประเทศ เขตอำเภอสูงเม่นถือว่าเป็นต้นแบบ ที่ศาลจังหวัดแพร่ได้มีคำพิพากษาว่าผิด ทุกองค์กรที่มีการบริหารจัดเก็บเงินคนเป็นไปช่วยคนตาย นั้นคือเข้าข่าย พ.ร.บ.ฌาปนกิจ สงเคราะห์ พ.ศ. 2545 อ.สูงเม่น จ.แพร่ เป็นตัวอย่าง (โมเดิ้ล) ให้กับทุกจังหวัดและทั่วประเทศไทย.....




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Pages